
เหตุใด? ทำไม? คนไทยจึงไม่ได้กินของดี ทั้งๆที่บ้านเมืองของเราเป็นอู่ข่าวอู่น้ำของโลก
วันนี้ได้มีโอกาสพูดคุยเปิดใจกับ ท่าน ผอ.สมบูรณ์ เพชรดิน ในเวลามื้อเย็นส่วนตัวที่่บ้านของท่าน หลายคนคงเคยคิดและตั้งคำถามเหมือนผม ว่าทำไมเกษตรกรไทยถึงไม่รวย และทำไมคนไทยถึงไม่ได้กินของดีๆ และในวันนี้ ท่าน ผอ.เองมีปณิธานแน่วแน่ ที่จะพลิกบทบาทฟื้นฟูให้เกษตรกรในบ้านเราก้าวขึ้นสู่ความทัดเทียมกับนานาประเทศ และยังได้อุปโภคบริโภคแต่ของดี ๆของผลผลิตทางการเกษตรในบ้านเราเอง
เกษตรกรในต่างประเทศเป็นอาชีพที่ร่ำรวย และมีความเป็นอยู่ที่ดีมากกว่าหลายๆอาชีพ เป็นอาชีพที่มีแต่คนอยากทำเพราะทำแล้วรายได้ดี ทำแล้วมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่สุขสบาย แต่พอเราหันมามองคำว่า เกษตรกรในบ้านเราเอง กลับเป็นอาชีพที่ ไม่มีใครอยากทำ เพราะทำแล้วเหนื่อย ทำแล้วจน ทำแล้วมีหนี้มีสิน และแถมครอบครัวเกษตรกรไทยยังสั่งสอนลูกหลานว่า ให้เรียนสูงๆ อย่ามาทำเกษตรแบบพ่อแบบแม่เลย เพราะทำแล้วลำบาก เหนื่อย ไม่รวย ไม่มีอนาคต วันนี้คำเหล่านี้จะเปลี่ยนไป ถ้ามีวิธีคิดอย่างถูกต้อง โดยเริ่มจากการรู้จักตนเอง และรู้จักความเป็นอยู่อย่างพอเพียงเสียก่อน แต่เท่านั้นยังไม่พอต้องหามุมมองจากแนวคิดใหม่ๆ เข้ามาปรับทรรศนะใหม่กับการทำเกษตรว่า ทำแล้วคุณจะมีเหลือกินเหลือใช้ และอยู่สบายได้กินแต่ของดีๆ
ถ้าเราลองปรับความคิดจากการการทำเกษตรในแนวเดิม ว่าเราเคยปลูกอะไรมา สิ่งที่เราเคยทำอะไรมาเราก็จะทำแบบนั้น ปลูกซ้ำๆอยู่อย่างนั้น มาเป็นการคิดในแนวใหม่ที่ไม่ยึดติดกับรูปแบบเก่า ถ้าเรามาดูว่าเกษตรทางเลือกใหม่ที่ทางสถาบันฯส่งเสริมอยู่ว่ามีจุดีและจะทำให้เกษตรกรมีอนาคตได้อย่างไร ลองดูตัวอย่างโครงการหรือพืชเศรษฐกิจที่ทางสถาบันฯตั้งโครงการไว้เพื่อเป็นทางออกของเกษตรกรผู้เพราะปลูกว่าเป็นอย่างไร ดีอย่างไร นอกจากปลูกแล้วดีในด้านการตลาดแล้ว ยังดีในด้านสุขภาพอย่างแท้จริงอีกด้วย ขอยกตัวอย่างโครงการของสถาบันฯดังนี้
1.เมล่อน = เมล่อนเป็นพืชที่มีราคาดี ราคาสูง เป็นที่นิยมของตลาด ถ้าเรามีโรงเรือนเล็ก ๆ ซัก 3 โรง ใน 1 โรงจะปลูกเมล่อนได้ถึง 400 ต้น มี 3 โรง ก็จะปลูกได้ 1,200 ต้น แล้วถ้าอย่างน้อยที่สุดเลยเมล่อนให้ผลผลิตได้เพียงต้นละ 1 ลูก (ที่จริงมากกว่านั้นแต่ขอคิดแค่ลูกเดียวต่อต้น) เกษตรกรก็จะเก็บผลผลิตได้ 1,200 ลูก ภายในเวลาเพียง 3 เดือน ถ้าราคาส่งหน้าฟาร์มอยู่ที่ลูกละ 50 บาท 1,200x50 = 60,000 นี่คือผลผลิตที่น้อยที่สุดในการสร้างรายได้ ถ้า 1 ต้น ให้ผลผลิตได้ 8 ลูก ลองบวกลบคูณหารกันดูนะครับว่า จะได้ค่าผลผลิตเท่าไหร่ต่อรอบการปลูก
2.อินทผาลัม = อินทผาลัมกับแนวคิดใหม่ แทนการปลูกปาล์มแบบธรรมดาที่ไม่ให้ผลผลิตอะไร ซึ่งจริงๆอินทผาลัมก็คือพืชตระกูลเดียวกับปาล์ม แต่ผลผลิตของอินทผาลัม ราคาดีมากและเป็นที่นิยมในหมู่พี่น้องชาวมุสลิมทั่วโลก เป็นพืชที่มีตลาดส่งแน่นอน ในหลายๆที่มีงบประมาณให้ปลูกปาล์ม หน่วยงาน/บ้านจัดสรร/สนามกอล์ฟ ลองคิดภาพว่าถ้าหากมีพืชตัวนี้แทนการปลูกปาล์มจะเป็นอย่างไร อินทผาลัมให้ผลผลิตที่มีราคาและน่าปลูกยิ่งนัก
3.กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50= ปลูก 1 ต้น ให้ผลผลิตหลายเครือและใน 1 เครือ ก็มีหลายหวี ออกได้ตั้งแต่ 7-11 หวี ลูกใหญ่ รสชาติดี กินอิ่ม กินกันได้หลายคนทั้งครอบครัว ราคาดี ปลูกง่าย ถ้าดูแลดีๆก็สามารถมีผลผลิตได้ตลอดทั้งปี
4.โกโก้ = เป็นพืชที่ตลาดขนมต้องการ เพราะโกโก้จะถูกนำเอาไปทำเป็นช๊อคโกแลต เมื่อไม่นานมานี้ทางสถาบันฯ ได้มีโอกาสพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเรื่องของป่าไม้ จึงเกิดแนวไอเดียใหม่ในการปลูกป่าอย่างยั่งยืนด้วยต้นโกโก้ เพราะนอกจากจะเป็นการปลูกป่าเพื่อสร้างสมดุลของระบบนิเวศแล้ว ยังสร้างรายได้ให้หมุนกับมาด้วยผลของโกโก้อีกด้วย เมื่อต้นโกโก้โตเต็มที่ก็จะแนวป้องกันและซับน้ำที่ไหลบ่าจากฝนอีกด้วย
5.ถั่วดาวอินคา = มาแรงด้วยคุณค่าทางอาหาร และประโยชน์ต่อสุขภาพ โอเมก้า 3 โมเมก้า6 โอเมก้า9 จากถั่วดาวอินคา ทานได้ทุกสัดส่วนของต้น เมล็ดของถั่วดาวทานได้ ใช้สกัดเป็นน้ำมันได้ ให้ประโยชน์ทางโภชนาการเพราะอุดมไปด้วยโอเมกาและวิตามิน ซึ่งไม่ต้องไปหาซื้อโอเมก้านำเข้ามาในราคาที่แพง ใบของถั่วดาวก็สามารถทำชาพร้อมดื่มได้ ถั่วดาวอินคากำลังเป็นพืชที่ได้รับความนิยมสูงในกลุ่มคนรักสุขภาพ
6.ถั่งเช่า = ถั่งเช่าหรือหญ้าหนอน เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีราคาสูง แทบจะสูงที่สุด กิโลกรัมละหลายหมื่นบาท เพราะมีสรรพคุณทางสุขภาพที่ครอบคลุมเกือบทุกอย่าง คุณค่าทางอาหารสูง แต่โดยมากน้อยคนนักที่จะมีสตังค์มากพอที่จะซื้อทาน ปัจจุบัน ทางสถาบันฯ สามารถนำสายพันธ์แท้ ๆของถังเช่ามาเพาะเลี้ยงในแลป เราสามารถนำยีนส์ของมันมาขยายพันธ์ได้แล้วในไทย โดยไม่ต้องสั่งซื้อกับต่างประเทศ มีเป็นของไทยเองและราคาที่คนไทยรับได้ โดยที่คุณค่าทางโภชนาการสูงทุกอย่างเหมือนต่างประเทศ
และนี่คือแนวคิดของสถาบันฯที่จะส่งเสริมการทำเกษตรให้สามารถยืนได้ อยู่ได้อย่างยั่งยืน และมีความเป็นอยู่ที่ดีได้จริงๆ
"กูกินของดี" คำว่าของดี คือมีคุณค่า มีความสะอาด มีความปลอดภัย สถาบันส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอินทรีย์เพื่อการส่งออก จึงเน้นในเรื่องการปลอดเคมี มีคุณภาพสูง และบูรณาการอย่างครบครันตั้งแต่เรื่องการเพาะปลูก การใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการควบคุมผลผลิตให้มีคุณภาพที่สามารถก้าวเข้าสู่ความเป็นสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และระบบการตลาดที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรมีรายได้ต่อเนื่องในการเข้าร่วมโครงการฯ สถาบันฯรับผิดชอบการจัดการระบบเป็นอย่างดี นอกจากพืชหลักที่เกษตรกรสนใจปลูกเข้าร่วมโครงการแล้ว ในยามเกิดปัญหาทางสถาบันยังมีการวางแผนในเรื่องการปลูกพืชหมุนเวียนทดแทนให้กับเกษตรกรด้วย เพื่อสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องจากการเข้าร่วมโครงการ ได้กินของดี มีรายได้ดี มีความเป็นอยู่ดี คือเจตนารมที่ท่าน ผอ. อย่ากส่งเสริมเกษตรกรไทย
เป็นสภาวะที่ลำบากของเกษตรกรผู้เป็นเจ้าของฟาร์ม บางคนเคยปลูกพืชปลอดสารและผ่านมาตรฐานต่างๆมา แต่พอมาเจอนายทุนหรือพ่อค้าคนกลางจากตลาดรับซื้อ มักจะเจอกดราคาผลผลิตให้ถูกลงมากๆ หากไม่ขายให้ก็จะไม่ที่ขายผลผลิตเลยต้องจำใจขายเพื่อความอยู่รอด พอถูกกดราคามากๆก็ทำให้เกษตรกรอยู่ไม่ได้ อันเนื่องมาจากปัจจัยการผลิตที่เขาลงทุนเพื่อทำให้ผลผลิตมีคุณภาพที่ดีผ่านมาตรฐานทุกอย่าง ต้องถูกลดลงไป จนท้ายที่สุดขอกลับมาใช้เคมีเร่งผลผลิตดีกว่า เพราะราคาขายไม่ดีเลย ทำให้บางครั้งผลผลิตที่ออกมาจึงกลายเป็นออแกนนิกแค่ในนามเท่านั้น แล้วคำว่า "ครัวไทยครัวโลก" จะเกิดขึ้นได้อย่างไร ภาคเกษตรของไทยจะมาเป็นอันดับต้นๆของโลกจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะถ้าหากถูกตรวจจริงๆ สินค้าเกษตรของเราจริงๆไม่ผ่านมาตรฐานหลายอย่างที่จะไปค้าขายกับต่างชาติ นอกจากขายกินกันเองในบ้านเรา ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะได้กินของดี ของที่ไม่มีเคมีตกค้างต่อร่างกาย และแต่ละสิ่งต้องได้มาตรฐานจริงๆไม่ใช่แค่ในนาม หรือใครจะทำอะไรอยากจะผ่านอะไรแค่มีเงินเป็นใบเบิกทางก็ผ่านได้โดยไม่ต้องสนใจว่าผู้บริโภคจะเป็นอย่างไร มาช่วยกันสนับสนุนโครงการของสถาบันกันนะคร้า..บ
ขอขอบคุณ ท่าน ผอ.สมบูรณ์ เพชรดิน
แบ่งปันความรู้และแนวคิดใหม่ๆ
แบ่งปันความรู้และแนวคิดใหม่ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น